ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด คือ ระบบโซล่าเซลล์ ที่เชื่อมต่อสายส่งของการไฟฟ้า เหมาะสำหรับลดค่าไฟฟ้า ซึ่งการคำนวณ ในการติดตั้งก็จะดูจากค่าไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ควรติดตั้งเกินค่าไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบมีดังนี้ 1. แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Monocrystalline และ Polycrystalline ซึ่งการเลือกใช้งาน ก็จะขึ้นอยู่กับงบประมาณ ของลูกค้า เนื่องจากทั้งสองแบบนี้ มีราคาแตกต่างกัน แต่ถ้าจะให้แนะนำ ในแถบบ้านเราใช้แบบ Polycrystalline ได้ครับ 2. Inverter ในการเลือกใช้งาน Inverter นั้น อันดับแรกเลย ต้องดูจาก ระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อนครับว่าเป็นแบบ 1 Phase หรือ 3 Phase เมื่อได้ระบบไฟฟ้าแล้ว ก็ต้องดูต่อว่าจะใช้กี่กิโลวัตต์ โดยดูได้จากบิลค่าไฟฟ้าครับ 3. อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น อุปกรณ์กันฟ้า (Surge) เซอร์กิตเบรกเกอร์ และ สายดิน 4. ชุดโครงสร้างรองรับแผงอะลูมิเนียม พร้อมตัวจับยึดแผงกับหลังคาชนิดต่างๆ […]
Read Moreรู้จักระบบโซล่าเซลล์แบบ Off Grid
รู้จักระบบโซล่าเซลล์แบบ Off Grid ระบบโซล่าเซลล์แบบ Off Grid คือ ระบบโซล่าเซลล์แบบไม่ขนานสายส่งของการไฟฟ้า อธิบายง่ายๆ คือ แบบที่ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบของการไฟฟ้าเลย ระบบนี้ เหมาะสมกับ บ้านไร้ บ้านสวน ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง มีอุปกรณ์ที่ใช้ดังนี้ 1.แผงโซล่าเซลล์ การเลือกแผงโซล่าเซลล์เพื่อนำมาใช้งานในระบบออฟกริด นั้น เราจะดูจากแรงดันไฟฟ้าของแผง (Volt) ซึ้งในท้องตลาดที่ขายในปัจจุบันมีอยุ่ 2 แบบ ครับ คือ แบบ 12V และ 24V การเลือกนำมาใช้งานต้องให้สอดคล้องกับการการชาร์จแบตเตอรี่ 2.ชาร์จเจอร์ การเลือกซื้อชาร์จเจอร์ ก็จะดูจาก กระแสของ (A) แผงเป็นหลัก ซึ่งตัวชาร์จเจอร์ต้องทนกระแส(A) ได้มากกว่าที่แผงโซล่าเซลล์ส่งมา ส่วนในเรื่องแรงดันไฟฟ้า(Volt) ตัวชาร์จเจอร์ในปัจจุบันสามารถสลับใช้งาน ระหว่าง 12V กับ 24V ได้ในตัวเดียว 3.แบตเตอร์รี ในระบบโซล่าเซลล์แบบ ออฟกริด นิยมใช้ แบตเตอร์รี่ ชนิด Deep Cycle […]
Read Moreคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน
สมมุติว่าภายในบ้าน เปิดหลอดไฟ ขนาด 11 w เป็นเวลา 10 ชม. จำนวน 6 หลอด เท่ากับว่า เราใช้ พลังงานไฟฟ้า ไปจำนวน 660 w มิเตอร์ไฟฟ้าของการไฟฟ้า 1 หน่วย (unit) มีค่าเท่ากับการใช้พลังงาน 1000 วัตต์ ใน1 ชั่วโมง (ถ้าเราใช้พลังงานที่มีค่าเท่ากับ 1000 วัตต์(1 kW) ใช้เวลาไป 1 ชั่วโมง มิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนไป 1 หน่วยไฟฟ้า หรือ ถ้าใช้ 100 วัตต์ ก็ต้องใช้ 10 ชั่วโมง ถึงจะได้ 1 หน่วยไฟฟ้า) เอา 1 หน่วย (1000w) หารด้วย 660 w(กำลังไฟฟ้าที่ใช้) เท่ากับว่าเราใช้ไฟไป 0.66 […]
Read Moreวิธีคำนวณ กำลังไฟฟ้า และแผงโซล่าเซลล์
วิธีคำนวณ กำลังไฟฟ้า และแผงโซล่าเซลล์ ที่จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้เพียงพอกับความต้องการ ก่อนอื่นต้องทราบปริมาณไฟฟ้า ที่เราต้องการในแต่ละวัน หรือในแต่ละเดือน ซึ่งวิธีการง่ายๆ คือ ให้ดูจากใบแจ้ง ค่าไฟฟ้า ให้สังเกตุตรงช่อง กิโลวัตต์ ( kWh) หรือ หน่วยที่ใช้ ซึ่งนั้นคือ ค่าพลังงานไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน จากตัวอย่าง คือ 497 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน หรือประมาณ 17 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน ซึ่ง 1 กิโลวัตต์ เท่ากับ 1,000 วัตต์ ดั้งนั้นเราต้องการโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าให้บ้านเราได้วันละ 17,000 วัตต์ชั่วโมง และเมื่อทราบว่าในแต่ละวันเราใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าไหร่แล้ว ต่อมาก็คือการคำนวณว่า เราจะต้องใช้โซล่าเซลล์กี่แผง ก็ให้นำตัวเลขที่ได้ มาหารด้วยเวลาแสงแดดเฉลี่ยในบ้านเรา ก็คือประมาณ 5 ชั่วโมง คือ 17,000÷5 = 3,400 w จากตัวอย่างที่ได้ ถ้าเลือกใช้งาน แผงโซล่าเซลล์ขนาด 300 วัตต์ […]
Read Moreชนิด และ การเลือกใช้งาน แผงโซล่าเซลล์
หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นั่นคือ แผ่นโซล่าเซลล์ หรือแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Pane lก็ตามแต่ ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด โดยที่ราคาถูกที่สุด และมีความทนทาน และคุณสมบัติอื่นๆอีกมากมาย และในปัจจุบันนั้นมีการผลิตแผ่นโซล่าเซลล์ออกมาหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ Amorphous หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิด ฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell หรือ a-Si)” ถือเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในพื้นที่มีอาจจะมีแสงแดด น้อย มีหมอกปกคลุม หรือมีฝนตกบ่อย เพราะมีความไวในการจับแสงดีมาก แต่ราคาค่อนข้างแพงและมีความบอบบางมาก ไม่สามารถใช้ประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าแบบอื่นได้มากนัก Crystalline คือแผ่นโซล่าเซลล์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและมากที่สุดในบรรดาแผ่นโซล่าเซลล์ชนิดต่างๆ สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดจัด ราคาไม่แพงมากนัก สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด สามารถประยุกต์และต่อพ่วงกับอุปกรณ์ควบคุม และวงจรไฟฟ้าได้หลากหลาย มีความทนทานอายุการใช้งานยาวนาน แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่แดดน้อย หรือฝนตกชุกตลอดทั้งปี เพราะแผ่นโซล่าเซลล์แบบนี้มีไวในการจับแสงได้น้อย มีทั้งแบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน (Mono Crystalline Silicon Solar Cell หรือ c-Si)และ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกโพลีซิลิคอน (Polycrystalline […]
Read Moreระบบ โซล่าเซลล์ (Solar Cell System)
ระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell System) ระบบโซล่าเซลล์ พลังงานไฟฟ้าทางเลือกที่สะอาด ช่วยกันลดโลกร้อนและมลพิษต่างๆ ด้วยพลังงานไฟฟ้าสะอาดจากธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เพื่อลดจำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้ความร้อนสูงและเกิดฝุ่นอันตรายในปริมาณมาก ลดโรงไฟฟ้านิวเคลีย์ที่ก่อความร้อนสูงมากและอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตสูงเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทย ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลัก ซึ่งก๊าซธรรมชาติ เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ที่มีอยู่ในทะเล และใช้ ลิกไนต์ หรือ ถ่านหิน ซึ่งเกิดจากการทับทมของซากพืชซากสัตว์ อายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งอยู่ใต้ดิน เป็นพลังงานรองลงมา ซึ่งแหล่งพลังงานทั้ง 2 แหล่ง มีวันหมด เราจึงควรใช้สอยอย่างประหยัด และสิ่งที่พวกเราจะสามารถช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรธรรมลงได้ คือการเลือกใช้พลังงานทดแทน พลังงานทดแทนมีอยู่หลากหลายรูปแบบ แต่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทยคือ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่ เรียกว่า ระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell System) ระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell System) ระบบโซล่าเซลล์ ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ลำดับที่ ประเภทของ ระบบโซล่าเซลล์ มีแบตเตอร์รี่สำรองไฟ สามารถใช้ไฟได้ในขณะไฟดับ […]
Read Moreก่อนจะมาเป็นหลังคาเมทัลชีท
หลังคาเมทัลชีท ผลิตมาจาก แผ่นเหล็กที่ผ่านการเคลือบ สารสังกะสี และ อลูมิเนี่ยม เรียกรวมๆกันว่า แผ่นเคลือบอลูซิงค์ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิม และ มีสีสัน ดูเงางาม ดังรูป ในรูปเป็นแผ่นเคลือบ อลูซิงค์ ซึ่งเป็นสี พื้นฐาน แต่สีอื่นๆ ก็มี ซึ่งได้มาจาก การนำแผ่นเคลือบอลูซิงค์ มาเคลือบชั้นสีเข้าไปอีกรอบนึง ดังในรูปด้านล่าง ซึ่งทางโรงงาน ก็จะซื้อแผ่นเรียบอลูซิงค์ หรือ แผ่นสี มาเป็นม้วนๆ ซึ่งเรียกว่า คอยล์เหล็ก แล้วนำไปเข้า เครื่องรีดลอน เมื่อแผ่นเรียบ ผ่านกระบวนการรีดลอน ก็จะออกมาเป็นรูปลอนต่างๆ ตามรูปลอนของเครื่องรีดนั้นๆ ซึ่งความยาวของ หลังคาเมทัลชีท ไม่มีขีดจำกัดสามารถตัดยาวได้ตามที่ลูกค้าต้องการ แต่ถ้าต้องการยาวมาก จะติดปัญหาในการขนส่ง แต่ทางโรงงานก็สามารถ ที่จะนำเครื่องรีด ออกไปรีดหน้าไซด์งานได้เลย เสร็จแล้วครับ หลังคาเมทัลชีท พร้อมส่งถึงมือลูกค้า
Read Moreคำศัพท์ที่ควรทราบ ในการเลือกซื้อหลังคาเมทัลชีท
BMT ย่อมาจาก Base Metal Thickness คือ ความหนาของแผ่นเหล็กก่อนที่จะนำไปเคลือบอลูซิงค์ TCT ย่อมาจาก Total Coated Thickness คือ ความหนารวมทั้งหมด AZ50 , AZ70 , AZ100 , AZ150 คือ ความหนาของชั้นเคลือบอลูมิเนียม กับสังกะสี หรือที่เรียกว่า อลูซิงค์ ซึ่งการเคลือบสารอลูซิงค์มากก็จะทำให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น G300 , G550 คือ ค่าความแข็งแรงของเหล็ก ซึ่งหลังคาเมทัลชีทควรผลิตจากเหล็กกล้ากำลังสูง G550 เท่านั้น ไม่ควรใช้หลังคาเมทัลชีท ที่ผลิตจากเหล็กกล้าทั่วไป เช่น G300 ซึ่ง G300 จะเหมาะกับงานแผ่นครอบทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาทำเป็นแผ่นหลังคา
Read More